ทันตกรรมรากฟันเทียมกับคลินิกทำรากฟันเทียมเฉพาะทาง (Dental Implants) ป้องกันการสูญเสียฟัน เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก


ทันตกรรมรากฟันเทียม คืออะไร (Dental Implant)

ทันตกรรมรากฟันเทียม คือ วิธีการปลูกรากเทียมหรือทำรากฟันเทียมทดแทนรากฟันจริง เพื่อให้สามารถมีฟันจริงได้เหมือนเดิม และเป็นฐานให้แก่ฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยจะฝังวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยให้ฟันปลอมภายในช่องปากทั้งชนิดถอดได้ และชนิดติดแน่นยึดเกาะได้ดี โดยอาจใช้รากเทียมเพื่อการใส่ฟันปลอม 1 ซี่หรือมากกว่านั้น ในบางกรณีการใส่ฟันปลอมทั้งปาก ก็อาจใช้รากฟันเทียมเพียงตัวเดียวได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใช้ในการยึดเกาะของฟันปลอมแต่ละซี่


รักษารากฟันเทียม ไว้ใจทันตกิจ ศูนย์ทันตกรรม Nobel Bio-care

ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ เป็นคลินิกทันตกรรมแห่งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่มการรักษาทันตกรรมรากฟันเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยทันตแพทย์บัญชา ศิริไกร ท่านเป็นทันตแพทย์ไทยท่านแรกที่ได้เดินทางไปศึกษาทันตกรรมรากฟันเทียมที่ Temple University เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นำความรู้มาทำการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก เป็นท่านแรกในประเทศไทย ต่อมาทันตแพทย์ธารา ศิริไกร บุตรชายคนโตได้สานต่องานทันตกรรมรากฟันเทียมจากคุณพ่อ โดยทันตแพทย์ธาราได้จบการศึกษาเฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมจาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และทำการรักษาทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมที่ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ศูนย์ทันกรรมทันตกิจมีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมอยู่หลายท่าน


รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ

1. รากเทียม (Implant Screw)

ทำมาจากโลหะไทยทาเนียม มีลักษณะคล้ายรากฟันจริง การทำรากฟันเทียมส่วนนี้จะฝังอยู่บริเวณกระดูกขากรรไกร สามารถยึดติดได้แน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นอักเสบหรือเกิดผลข้างเคียงใดๆ

2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment)

เมื่อทำการฝังรากฟันเทียมบนกระดูกขากรรไกรจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี

3. ครอบฟัน (Crown)

เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกของเหงือก ทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ


รากฟันเทียมทำงานได้อย่างไร

รากฟันเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกรเมื่อทั้งสองอย่างประสานกันอย่างสนิทแล้ว และจะให้เกิดการรองรับฟัน โดยฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมที่ทำงานร่วมกับรากฟันเทียม จะไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทานอาหาร การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา สำหรับบางคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ ยิ่งไปกว่านั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป ประโยชน์ของการทำรากเทียมก็คือไม่ต้องกรอฟันเพื่อที่จะเตรียม แนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่เจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่เลย การเตรียมตัวสำหรับการฝังราก ต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน และต้องยอมรับที่จะรักษารากฟันเทียม เพื่อสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ การดูแลความสะอาดของช่องปากอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้การฝังรากฟันเทียมมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น


ข้อดีของทันตกรรมรากฟันเทียม

    • เพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    • ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
    • ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
    • สามารถบดเคี้ยวได้ดี
    • ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ
    • ช่วยการใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ความรู้สึกสบาย มีความแน่นกระชับมากยิ่งขึ้น
    • ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
    • ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด
    • เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
    • คงทนและถาวร
    • เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ จะหมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการทำรากฟันเทียม ฟันปลอม และสะพานฟัน

ทันตกรรมรากฟันเทียม การทำฟันปลอมถอดได้ การทำสะพานฟัน
ไม่สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติ มีการกรอฟันเล็กน้อย ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน
แข็งแรงกว่า มีอายุใช้งานที่ยาวนานกว่า ต้องได้รับการปรับเป็นประจำทุกๆ3-5ปี ต้องได้รับการเปลี่ยนหลังจากใช้งานประมาณ2-3ปี และต้องเสียค่าช้าจ่ายเพิ่ม
แข็งแรงกว่า มีอายุใช้งานที่ยาวนานกว่า ออกเสียงไม่ชัดเจน และรับประทานอาหารไม่สะดวก อาจก่อให้เกิดฟันผุหรือปัญหาโรคเหงือกได้ หากดูแลทำความสะอาดไม่ดี
ไม่มีปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือก ราคาถูก ไม่สามารถทดแทนฟันทุกซี่ได้
มีความแข็งแรงเทียบเท่าฟันธรรมชาติ อาจทำให้เกิดการเสื่อมของกระดูกรองรับฟัน ความแข็งแรงน้อยกว่ารากฟันเทียม
มีการผ่าตัดร่วม ต้องถอดเพื่อทำความสะอาด ไม่มีการผ่าตัดร่วม ทำได้เร็วกว่า

ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม

ขั้นที่ 1 ทันตแพทย์ทำการตรวจสภาพช่องปากและเตรียมสภาพช่องปากให้เรียบร้อย

ขั้นที่ 2 ทันตแพทย์ถ่ายภาพรังสีเพื่อดูปริมาณกระดูกและอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจต้องมีการทำภาพถ่ายสแกน 3 มิติ (3D Dental CT Scan) ร่วมด้วยในบางเคส

ขั้นที่ 3 การฝังรากฟันเทียมลงในกระดูก หลังการผ่าตัด จะเย็บปิดแผล แล้วรอให้ร่างกาย สร้างกระดูกเพื่อยึดติด กับรากเทียม โดยจะรอประมาณ 3 – 6 เดือน

ขั้นที่ 4 เป็นผ่าตัดครั้งที่ 2 โดยทำการผ่าตัดเปิดเหงือกแล้วยึดส่วนแกนฟัน (Abutment) ลงบนรากฟันเทียมที่ฝังอยู่ในกระดูก จากนั้นจึงปิดแผล และจะเห็นว่ามีส่วน แกนฟัน โผล่ออกมาเพื่อเตรียมรองรับฟันปลอมต่อไป (ซึ่งขั้นตอนที่ 2 นี้ อาจไม่มีความจำเป็น ถ้าในการผ่าตัดครั้งแรก รากเทียมยึดติดกับกระดูกได้แน่นพอ)

ขั้นที่ 5 เป็นการทำฟันปลอมทับบนแกนฟันและรากเทียม ซึ่งอาจจะเป็นฟันปลอมติดแน่น เช่น ครอบฟัน หรือ ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากที่ทับบนรากฟันเทียม

ขั้นที่ 6 ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน


ชนิดของรากฟันเทียม

รรากฟันเทียมแบ่งได้หลักๆ เป็น 3 ชนิด คือ Conventional Implant, Immediate Implant และ Immediate Loaded Implant จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปาก ความจำเป็นของคนไข้ และประสบการณ์ของทันตแพทย์


Conventional Implant

Conventional Implant คือ การฝังรากเทียมโดยทั่วไปขั้นตอนคร่าวๆ คือ ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิมพ์ปากและ x-ray ในบางตำแหน่งอาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อทำการวางแผนการรักษา จากนั้นจะนัดหมายผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร หลังจากฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียมและกระดูกยึดติดกันเต็มที่ ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก โดยทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1-4 สัปดาห์ ข้อจำกัดในการรักษารากฟันเทียมจะมีน้อยมากหากวางแผนการรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มีปริมาณของกระดูกน้อยมากๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากฟันเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกก่อนหรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้


Immediate implant

Immediate implant คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอกาสในการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่


Immediate loaded implant

Immediate loaded implant คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก


ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธีดังนี้

    • ในกรณีที่มีฟันหายไปเพียง 1 หรือ 2 ซี่การใส่ฟันเทียมติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือ รากฟันเทียมและสะพานฟัน แต่ทำรากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุด และมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน คือ ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสะพานฟันมีส่วนของครอบฟันติดกันทั้งหมด หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาจะต้องรื้อออกทั้งหมด
    • การทดแทนฟันหลายซี่ในกรณีที่ฟันหายไป 1 ซี่แต่หลายๆ ตำแหน่ง ก็สามารถใส่รากฟันเทียมรองรับครอบฟันได้ แต่กรณีที่ฟันหายไปหลาย ๆ ซี่ติดกัน ทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลงได้ไม่ต้องทำทั้งปาก หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
    • ในกรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมากรากฟันเทียมสามารถช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลงได้
    • การทดแทนฟันที่หายไปทั้งปากในกรณีที่ฟันหายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ แบบติดแน่น ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะทำการฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว วิธีการและความยุ่งยากก็จะแตกต่างกันไป

ทำรากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง

    • คนที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยที่ฟันข้างเคียงอยู่ในสภาพดี
    • คนที่ใส่ฟันปลอมทั้งปาก แต่พบปัญหาว่ากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมากทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝังรากฟันไทเทเนียม ซึ่งตัวรากฟันจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
    • คนที่ไม่ชอบการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
    • คนที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น

ผู้ที่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม และผู้ที่ไม่ควรทำ

ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียมทั้งปากและทำได้ทุกคน โดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือสูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา ส่วนผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม


คำถามที่มักพบบ่อยสำหรับการฝังรากเทียม

1. ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม?

การฝังรากเทียมในคนไข้เเต่ละราย และฟันในเเต่ละตำเเหน่งในช่องปากนั้นมีความแตกต่างกัน ประมาณ 90% ของเคสจะทำการฝังรากเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา เมื่อคนไข้ชาเต็มที่การผ่าตัดจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดค่ะ แต่ความเจ็บปวดหรืออาการภายหลังการผ่าตัดนั้นจะมากน้อยต่างกันไป โดยเกิดจากความเเตกต่างของลักษณะของสันกระดูก ปริมาณของกระดูก คุณภาพของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากเทียมจะทำได้ง่าย ความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟันเเละใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันภายหลังการผ่าตัดเท่านั้น ต่างจากในบางกรณีที่มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือ มีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี จะต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ให้พร้อมก่อนการฝังรากเทียม ซึ่งภายหลังการผ่าตัดระยะเวลาการพักฟื้นจะนานกว่า

2. อายุมีผลต่อการทำรากฟันเทียมไหม?

รากฟันเทียมจะทำการฝังในคนไข้ที่หยุดการเจริญเติบโตแล้วเท่านั้น เนื่องจากเมื่อทำการฝังรากฟันเทียมเเล้วตำเเหน่งรากฟันเทียมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น เมื่อคนไข้เด็กหรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโต จะเเนะนำให้ทดเเทนฟันด้วยวิธีอื่นก่อนค่ะ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเเล้วจึงมาทำการรักษาด้วยรากเทียม ส่วนในกรณีผู้สูงอายุที่คนไข้สุขภาพร่างกายเเข็งเเรงเเละไม่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมโรคได้ อยู่ในการดูแลของเเพทย์ สามารถทำรากฟันเทียมได้เช่นเดียวกับคนไข้ทั่วไป เเต่ในบางกรณีที่คนไข้ได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการเเข็งตัวของเลือดบางชนิด จำเป็นจะต้องมีการปรึกษาเเพทย์ประจำตัวเพื่อประเมินร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนั้นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ถ้าผู้ป่วยคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะส่งผลถึงเปอร์เซนต์ความสำเร็จและอายุการใช้งานของรากฟันเทียมได้

3. ทำฝังรากเทียมแล้วใช้งานได้นานเเค่ไหน?

อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนครอบฟันและส่วนรากฟัน โดยส่วนครอบฟันนั้นอายุการใช้งานนั้นใกล้เคียงกับครอบฟันธรรมชาติทั่วไป สามารถเกิดการแตก หัก บิ่นของครอบฟันได้ตามลักษณะการใช้งาน แต่ส่วนของรากเทียมที่ฝังในกระดูกนั้น อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของกระดูกรอบๆรากเทียม จากการศึกษาความสำเร็จในการฝังรากเทียมพบ 5% ในระยะเวลา 5 ปี และ 89.4% ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การ Maintanance อย่างต่อเนื่อง มีผลต่ออายุการใช้งานของรากเทียมอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการดูแลด้วยตนเองโดยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี การระมัดระวังในการกัดเคี้ยวอาหาร และการมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจติดตามภายหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำให้รากเทียมใช้งานได้นานและคงประสิทธิภาพที่ดี

4. ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมดในการทำรากฟันเทียม

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะเเบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ ได้แก่ ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม โดยในอตีดทั้งสองขั้นตอนจะห่างกันประมาณ 4-6 เดือนเเต่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของทันตกรรมรากเทียม ระยะเวลาที่ใช้ในการทำรากฟันเทียมนั้นได้ลดลงมาก การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่มีกระดูกคุณภาพดี สามารถใส่ฟันได้ทันทีหรือภายหลังการฝังรากเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยระยะเวลาของการรักษาในเเต่ละกรณีจะแตกต่างกับไปตามปริมาณและคุณภาพของของกระดูกรองรับรากเทียม

5. ก่อนเเละหลังการผ่าตัดฝังรากเทียมต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนฝังรากเทียม ก่อนฝังรากเทียมในคนไข้ที่ร่างกายเเข็งเเรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ เเต่ในกรณีที่มีโรคประจำตัว มียาที่จำเป็นต้องรับประทานเป็นประจำ หรือมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งต่อทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดทุกครั้ง หลังจากการตรวจประเมินอย่างละเอียดโดยทันตแพทย์ จะมีการถ่ายภาพรังสีสองมิติบริเวณที่ฝังรากเทียม ในกรณีที่ตำเเหน่งนั้นมีอวัยวะสำคัญ หรือต้องทำการครอบฟันทันทีภายหลังการฝังรากเทียม จะต้องมีการถ่ายภาพรังสีสามมิติ (CT Scan) เพิ่มเติม

หลังการผ่าตัดฝังรากเทียม ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารเเข็ง ในฝั่งบริเวณที่ทำ 1-2 เดือน เพื่อป้องกันเเรงกระเเทกที่สามารถเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป ผู้ป่วยสามารถเเปรงฟันเเละทำความสะอาดฟันได้ปกติ เพียงเเต่เพิ่มความระมัดระวังมิให้เกิดการกระเเทกต่อรากเทียมเท่านั้น อาการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ 5-7 วัน รับประทานยาที่ได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้แผลหายเป็นปกติได้ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีหนอง, มีไข้, มีอาการชา บริเวณคาง ริมผีปาก หรือลิ้น ภายหลังการผ่าตัดไปแล้ว 1-2 วัน ให้ติดต่อกลับมาเพื่อตรวจสอบอาการทันที

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการผ่าตัดฝังรากเทียม เป็นการรักษาที่ทำได้ง่ายเเละรวดเร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายก็ลดลงมากเปรียบเทียบกับเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเทคโนโลยีเเละองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้น เเต่อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกท่านตรวจสอบเเละหาข้อมูลก่อนทำการตัดสินใจเข้ารับการฝังรากเทียม ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน และทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อทุกท่านจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตราย

6. ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่?

หลายคนอาจกังวัลเรื่องค่าใช้จ่าย ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่? แพงไหม? ทำรากฟันเทียมราคาเริ่มต้นกับศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ จะอยู่ที่ 65,000 บาท ไปจนถึง 600,000 บาทในกรณีทำรากฟันเทียมทั้งปาก และรับประกันรากฟันเทียมให้อีก 5 ปี ถือเป็นราคาค่ารักษาที่สมเหตุสมผล เพื่อแลกกับการไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติเพราะไม่ต้องกรอฟัน ไม่มีปัญหาเรื่องฝันผุหรือโรคเหงือก เมื่อเทียบกับการทำฟันปลอมหรือการทำสะพานฟัน แถมยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า คุ้มค่ากับค่ารักษา


วิธีง่ายๆ ดูแลตัวเองหลังทำรากฟันเทียม

การฝังรากฟันเทียมคือการใช้วัสดุที่มีความทนทานอย่างไทเทเนียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันที่เสียหายไป ทำหน้าที่รองรับทันตกรรมฟันปลอม (denture), ครอบฟัน (crown) หรือสะพานฟัน (bridge) โดยในปัจจุบันการฝังรากฟันเทียมจะ

ให้ผลลัพธ์เหมือนกับรากฟันแท้ๆ มากที่สุด อีกทั้งยังแข็งแรงทนทาน สามารถอยู่กับคุณได้ไปอีกนาน… แต่นั่นก็ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่ต้องดูแลรักษาสุขภาพของรากฟันเทียมเลย เรามี 12 วิธีปฏิบัติง่ายๆ ที่จะดูแลตัวเองหลังทำรากฟันเทียม เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและช่วยให้รากฟันเทียมของคุณมีอายุใช้งานยืนยาวได้อย่างที่สุด

1. ทำตามคำแนะนำของแพทย์: นี่คือสิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดซึ่งคุณต้องทำอย่างเคร่งครัด ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อนจะทำการฝังรากฟันเทียมให้คุณ ฉะนั้นนี่คือคนแรกที่จะแนะนำได้ว่าคุณควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ผลการรักษาสำเร็จ

2. พักปากสักนิด: จะอย่างไรเสีย นี่ก็คือการผ่าตัด ฉะนั้นการใช้งานปากและฟันของคุณหนักเกินไป อาจจะทำให้แผลเปิด บวม หรืออักเสบได้ ระมัดระวังการขยับหรือเคี้ยวแรงๆ ในช่วง 2-3 วันแรกจะดีมาก

3. ทานยาตามเวลา: การรักษานั้นไม่ได้จบลงเมื่อคุณได้รับการผ่าตัดสำเร็จ แต่หมายถึงการฟื้นตัวหลังจากนั้นด้วย เราแนะนำให้คุณทานยาที่ได้รับมาตามเวลาจนกว่าจะหมด เพื่อให้การรักษาเสร็จสมบูรณ์

4. ดื่มน้ำให้มากๆ: เนื้อเยื่อของคุณจะฟื้นตัวได้ไวกว่าหากได้ความชุ่มชื้นจากน้ำอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วสามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ได้

5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่นั้นส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพช่องปากของคุณ เช่น เหงือกอักเสบ การติดเชื้อ ฟันผุ มะเร็งในช่องปาก และส่งผลเสียต่อการฝังรากฟันเทียมด้วย ฉะนั้นคุณควรงดสุบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดนี้

6. แอลกอฮอล์ก็ด้วย: การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างที่แผลของคุณยังไม่สมานตัวดี เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้ออย่างมาก คุณน่าจะรู้แล้วว่าต้องทำอย่างไร

7. ทานอาหารเพื่อสุขภาพ: อาหารประเภทนม เนยถั่ว ลูกเกด ปลาแซลมอน ชาเขียว หรืออาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ จะช่วยเสริมสุขภาพช่องปากและทำให้แผลหายไวยิ่งขึ้น ลองเพิ่มสิ่งเหล่านี้ลงในเมนูประจำวัน คุณจะพบกับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อสุขภาพแน่นอน

8. แล้วก็อย่าทานอาหารเหล่านี้: อาหารที่มีกรดสูงอย่าง น้ำผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ลูกอมหรือขนมหวาน อาหารที่แข็งและต้องออกแรงเคี้ยวหนักๆ อาหารที่ว่ามานี้จะทำให้แผลของคุณหายช้าลง

9. ลดน้ำตาลด้วยนะ: น้ำตาลไม่เป็นมิตรต่อฟันของคุณอยู่แล้ว ไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณควรจะงด ขนมและอาหารที่มีรสหวานจัดทั้งปวงให้สิ้น นอกจากแผลของคุณจะหายดีแล้ว สุขภาพของคุณจะดีในระยะยาวด้วย

10. สร้างสุขนิสัยที่ดีต่อช่องปาก: สุขภาพของรากฟันเทียมนั้นแปรผันกับสุขภาพช่องปากคุณด้วย ฉะนั้นคุณต้องแปรงฟัน ขัดฟัน บ้วนปาก และพบกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

11. ตรวจดูรากฟันเทียมเป็นประจำ: อย่าให้รากฟันเทียมเป็นสิ่งที่ถูกลืมในปากของคุณ ลองตรวจสอบมันดูเป็นระยะเพื่อสังเกตุดูถึงสัญญาณผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และอย่าปล่อยให้สิ่งผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ หากไม่แน่ใจคุณควรพบแพทย์โดยเร็ว

12. อย่ากัดหรือกดฟันปลอมแรงๆ: ระหว่างฟื้นตัวจากการฝังรากฟันเทียม อย่ากระทำการใดๆ ที่จะมีผลกระทบกับฟันปลอมซี่นั้นอย่างรุนแรง ไม่เช่นนั้น นอกจากจะเจ็บแล้ว แผลอาจจะเปิดและอักเสบได้

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ฟันปลอมและรากฟันเทียมมีอายุการใช้งานยืนยาว อีกทั้งยังรวมไปถึงทำให้สุขภาพในช่องปากของคุณโดยรวมดีขึ้นได้อย่างเห็นผลชัดเจนด้วย แน่นอนว่า การเอาใจใส่ดูแลตัวเองและสร้างลักษณะนิสัยที่ดีก็คือเคล็ดลับที่ทำให้คุณมีรอยยิ้มสวยๆ ได้นาน ๆ


ทำไมถึงเลือกทำรากฟันเทียม ที่ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ

    • เราเป็นศูนย์ทันตกรรมแห่งแรกที่ริเริ่มการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก ทันตกรรมรากฟันเทียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2516
    • ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมของเราเป็นทันตแพทย์ประจำแบบ full time ซึ่งสามารถดูแลรับผิดชอบการรักษาได้อย่างต่อเนื่องตลอดจนถึงการดูแลรากเทียมในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก
    • เราเป็นศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม Nobel Biocareอย่างเป็นทางการ
    • การทำปราศจากเชื้อมาตรฐานระดับโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการฝังรากฟันเทียม
    • การฝังรากฟันเทียมด้วยระบบดิจิทัล 3D Dental CT Scan
      • เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่างๆแก่ผู้ป่วย
      • เพื่อลดระยะเวลาในการรักษา
      • เพื่อเพิ่มรายละเอียด ความแม่นยำในการวินิจฉัย
      • พบและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงในการฝังรากฟันเทียม
    • การทำครอบฟันและสะพานฟันบนรากเทียมด้วยการสแกนฟันดิจิทัลและแลปทันตกรรมแบบ CAD/CAM เพื่อให้ได้ครอบฟันและสะพานฟันที่แม่นยำและพอดีที่สุด
    • เรามีการรับประกันตัวรากฟันเทียมถึง 5 ปี ในกรณีที่ตัวรากเทียมหลุดหรือไม่ยึดเกาะกับกระดูก และรับประกันตัวครอบฟันบนรากเทียม 2 ปี หากมีการแตก

DENTAL IMPLANTS : ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่?

รากฟันเทียม 1 ซี่

บาท รับประกัน
Dentium Implant  65,000

BioHorizons Implant

75,000
Straumann Implant    85,000

รากฟันเทียม 2 ตัว + สะพานฟัน 3 ซี่

บาท รับประกัน
Dentium Implant  155,000

BioHorizons Implant

175,000
Straumann Implant  195,000

รากฟันเทียม 2 ตัว + สะพานฟัน 4 ซี่

บาท รับประกัน
Dentium Implant  180,000

BioHorizons Implant

200,000
Straumann Implant  220,000

รากฟันเทียมทั้งขากรรไกรหรือทั้งปาก

บาท
We provide Final Prosthesis of All on 4/5/6 implant concept with fully screw retained high impact acrylic (KULZER®) with reinforced metal sub-structure which can be served as long-term final prosthesis.
Unlike traditional one day teeth of All on 4/5/6 concept which requires remaking of final prosthesis after 6 months, our final prosthesis lasts for years and requires 5-7 days to be made after the implant placement. We do not offer low prices with compromised quality of work.
All-on-4 Implants               340,000

          400,000

All-on-5 Implants               425,000

          500,000

All-on-6 Implants               510,000

           600,000

Implants with Overdenture

บาท  
2 Implants+Bar+Overdenture 170,000  
2 Implants+Ball+Overdenture 170,000
4 Implants+Bar+Overdenture 310,000
4 Implants+Ball+Overdenture 310,000

ส่วนลด 10% สำหรับทุกการรักษา