ทันตกรรมรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)


การรักษารากฟันอักเสบ คือขบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ บางรายอาจมีอาการรากฟันเป็นหนองด้วย โดยมีวิธีรักษารากฟันอักเสบร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงามให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

อาการรากฟันอักเสบ

ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟันอักเสบ มักมีอาการปวดฟันขึ้นมาเอง อาจปวดแบบเป็นๆหายๆ หรือปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ หรือทำให้ต้องตื่นเนื่องจากปวดฟันมาก หรือมีอาการเสียวฟันมากเวลาดื่มของร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บฟันเวลาเคี้ยวอาหาร บางครั้งอาจพบว่าฟันเปลี่ยนสี มีสีคล้ำ หรือมีอาการเหงือกบวม รากฟันมีตุ่มเป็นหนอง หรือบวมบริเวณใบหน้าได้

สาเหตุที่อาจทำให้ประสาทหรือรากฟันเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ได้แก่

  • ฟันผุ หรือฟันที่มีวัสดุอุดลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน
  • ฟันผุซ้ำ หรือฟันผุเกิดใหม่ใต้ครอบฟัน
  • ฟันแตก หรือร้าว
  • รากฟันเป็นหนองเกิดขึ้นบริเวณปลายราก
  • การบาดเจ็บของฟันจากการกระแทก หรืออุบัติเหตุเมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันจนอักเสบในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด ปกติเนื้อเยื่อในโพรงฟัน สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและต้านทานการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ แต่เมื่อการอักเสบในรากฟันหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมาก ฟันถูกกระแทกแรงๆจากอุบัติเหตุ ฟันที่แตกหักไปจนทะลุเข้าไปในโพรงฟัน เนื้อเยื่อในโพรงฟันก็จะถูกทำลาย และเน่าตายไปในที่สุด

ขั้นตอนการรักษารากฟันอักเสบ

  1. กำจัดเนื้อฟันที่ผุ และเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
  2. กำจัดประสาทหรือรากฟันที่อักเสบ หรือกำจัดการติดเชื้อด้วยการใช้เครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ เข้าไปทำความสะอาดร่วมกับการล้างด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อ
  3. หากไม่สามารถรักษารากฟันอักเสบให้เสร็จในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน และอุดวัสดุชั่วคราวไว้
  4. อุดวัสดุเข้าไปในคลองรากฟันที่ทำความสะอาดไว้แล้ว
  5. ฟันที่รักษารากฟันอักเสบเสร็จแล้ว มักจะต้องได้รับการทำครอบฟันเพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟันระยะเวลาในการรักษารากฟันขึ้นกับความซับซ้อนและการติดเชื้อของฟันที่รักษา บางกรณีสามารถทำการรักษาให้เสร็จภายในครั้งเดียวได้ แต่ในกรณีที่คลองรากฟันมีความซับซ้อน หรือมีการติดเชื้อในคลองรากฟันรุนแรง ก็จำเป็นต้องใช้เวลารักษา 2-4 ครั้งภายหลังการรักษารากฟัน ผู้ป่วยอาจมีการอาการปวดหรือเสียวฟันซี่ที่รักษาไปโดยจะมีอาการได้ประมาณ 2-5 วัน ภายหลังการรักษาผู้ป่วยสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดที่จะเกิดขึ้นนี้ได้และอาการปวดจะค่อยๆ ทุเลาจนหายไปเองจากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ผลสำเร็จของการรักษาคลองรากฟันนั้นสูงถึง 90% อย่างไรก็ดีมีบางกรณีที่รักษารากฟันไปแล้วเกิดความล้มเหลวจากการที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดได้ในครั้งแรก หรือมีการผุเพิ่มหรือเกิดการแตกหักของตัวฟันในภายหลัง ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำกลับเข้าไปในคลองรากฟัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวม หรือรากฟันเป็นตุ่มหนองขึ้นที่เหงือก ซึ่งหากเกิดความล้มเหลวขึ้นแล้วจะมีทางเลือกในการรักษาดังนี้

วิธีรักษารากฟันอักเสบเมื่อเกิดความล้มเหลวจากครั้งก่อน

1. การรักษาคลองรากฟันซ้ำ

ในกรณีที่สามารถรื้อวัสดุอุดส่วนตัวฟันออกได้ ทันตแพทย์จะทำการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันเก่าออกและทำความสะอาดคลองรากฟันใหม่อีกครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อก่อนที่จะทำการอุดวัสดุคลองรากฟันกลับเข้าไป แล้วจึงทำการบูรณะฟันขึ้นมาใหม่

2. การผ่าตัดปลายรากฟัน

เลือกใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทำการรักษาคลองรากฟันซ้ำได้ เช่น มีครอบฟันและเดือยฟันขนาดใหญ่ไม่สามารถรื้อออกได้ การรักษาคลองรากฟันครั้งแรกที่มีข้อจำกัดและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษารากฟันซ้ำ การผ่าตัดคลองรากฟันจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยยังสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยหลักการ คือ การผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็นหนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน และทำการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันออกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปในส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

หลังการรักษารากฟันอักเสบ เราควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้การรักษารากฟันที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ยืนยาว

  1. ภายหลังรักษารากฟันใหม่ๆ โดยเฉพาะในครั้งแรกอาจมีอาการเจ็บได้บ้างใน 2-3 วันแรกและจะค่อยๆ จางหายไปเอง
  2. ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากอักเสบ เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันจะเหลือน้อยลงและฟันจะเปราะมากขึ้นแต่การเคี้ยวอาหารเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เป็นวิธีปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
  3. ระหว่างรักษารากฟันหากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมาให้ผู้ป่วยรีบกลับมา หาทันตแพทย์เนื่องจากเชื้อโรคในช่องปากสามารถเขาสู่ภายในคลองรากฟันได้
  4. การรักษาคลองรากฟันเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ตามกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมหากผู้ป่วยละเลยไม่มาตามวันนัด ฟันซี่นั้นอาจจำเป็นต้องถูกถอนออกการปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังทำให้เชื้อโรคออกไปทำลายกระดูกรอบๆ ฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือ เกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือบริเวณใบหน้า ในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้

อาการข้างเคียงจากการรักษารากฟันอักเสบ

อาการข้างเคียงจากการรักษารากฟันอักเสบที่ทันตแพทย์ไม่อยากให้เกิดคืออาการปวดหลังการรักษา เพราะส่วนใหญ่ผู้รับบริการหวังอย่างยิ่งว่าเมื่อรักษารากฟันแล้วจะต้องหายจากการปวดเป็นอันดับแรก หลังการรักษารากฟันจะมีอาการปวดซึ่งแบ่งได้ 2 กรณีคือ การปวดระหว่างการรักษาและการปวดหลังจากการรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว

1. การปวดระหว่างการรักษา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรักษาครั้งแรก เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ อาจร่วมกับการบวมของเหงือกด้วย ส่วนมากแล้วอาการปวดหลังการรักษาครั้งแรกมักเกิดจากการรักษารากฟันในฟันที่มีอาการปวด หรือเริ่มมีอาการปวด (Acute pulpitis)? หรือกำลังเริ่มจะมีการอักเสบที่รากฟัน แต่จะไม่ค่อยเกิดในฟันที่ตายแล้ว (pulp necrosis) หรือฟันที่มีตุ่มหนอง (periapical abscess) หรือฟันที่เพิ่งทะลุโพรงประสาทส่วนใหญ่ทันตแพทย์มักจะระมัดระวังในเรื่องการกำจัดเส้นประสาทฟันให้หมด และการขยายคลองรากฟันและการล้างคลองรากฟันโดยไม่ให้เกิดแรงดันที่จะทำให้เศษสิ่งสกปรกที่ล้างทำความสะอาดดันเข้าไปในบริเวณปลายราก แต่บางครั้งก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าคิดว่ามีความเสี่ยง ทันตแพทย์อาจจะต้องเปิดโพรงที่กรอไว้ก่อนเพื่อให้เกิดการระบาย แล้วจึงใส่ยา และปิดโพรงในครั้งต่อไป แต่จะทำให้การรักษาใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากการเปิดโพรงไว้จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในน้ำลายได้

2. อาการปวดหลังการรักษา

ถ้าไม่ปวดมากนัก ทันตแพทย์จะทำการล้างทำความสะอาด ขยายรากฟันหรือกำจัดเส้นประสาทให้หมด ซึ่งจะทำให้หายปวดได้ หากมีอาการบวมด้วย อาจต้องเปิดระบายและให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย หลังการรักษาอาจมีอาการปวดซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น คลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลองรากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่ หรือผ่าตัดปลายรากฟันหรือถ้ารักษาไม่ได้ อาจต้องถอนฟันในที่สุด อย่างไรก็ตาม วิธีรักษารากฟันอักเสบเป็นการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษารากฟันกรามซึ่งมีจำนวนคลองรากฟัน 3-4 โพรง ทำให้ยากต่อการรักษา ทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วยในการมาตามนัด และทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีความละเอียดรอบคอบ

ฟันที่รับการรักษารากจะอยู่ได้นานเท่าใด

ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต การรักษารากฟันราคาเบื้องต้นจากศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาแนวทางการรักษาก่อนได้ เพื่อเลือกวิธีรักษารากฟันอักเสบที่เหมาะกับอาการมากที่สุด

ENDODONTICS (ROOT CANAL TREATMENT) : รักษารากฟันราคา

รักษารากฟันราคาเบื้องต้นจากศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาแนวทางการรักษาก่อนได้ เพื่อเลือกวิธีรักษารากฟันอักเสบที่เหมาะกับอาการมากที่สุด

  THB Duration
Anterior/Incisor Tooth (Front tooth) ราคา 10,000 per tooth 1-2 Visits
Premolar Tooth ราคา 13,000 per tooth 1-2 Visits
Molar Tooth ราคา 16,000 per tooth 1-2 Visits
Retreat Root Canal ราคา add 2,000 per tooth  
Root Filling ราคา 2,000 per tooth  
[/col] [/row] [/section]