ปัญหาของคนจัดฟันเมื่อ “ที่ครอบฟันหลุด” ต้องแก้ไขอย่างไร

ครอบฟันหลุด เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนไข้ที่ใส่ครอบฟันมักจะเจอกันบ่อยๆ ซึ่งสาเหตุนั้นมีได้หลายหลายประการ อาจจะเกิดจากการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง เหนียว, การใส่ที่ครอบฟันไม่พอดีกับฟัน, กาวที่ใช้ครอบฟันเสื่อมสภาพ, เดือยฟันสั้นไป รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเมื่อครอบฟันหลุดแล้วก็ต้องกลับมาหาทันตแพทย์เพื่อทำการซ่อมแซมอีกครั้ง และก่อนที่เราจะมาดูวิธีแก้ไข เราจะพาไปรู้จักการครอบฟันกันให้มากขึ้นอีกสักนิด

การครอบฟันคืออะไร


การครอบฟัน (Dental Crowns) เป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดจากการ แตก หัก บิ่น ฟันผุ ฟันสึก รวมถึงฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาก่อน ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแรง และปกป้องฟันซี่ที่เสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ในบางกรณีก็ทำการครอบฟันปกป้องฟันแท้และจัดช่องฟันให้สวยงามอีกด้วย โดยการรักษานั้นทันตแพทย์จะทำการตรวจสภาพฟัน เอ็กซเรย์และวางแผนการรักษาฟัน โดยจะเลือกวัสดุและปรับสีให้ใกล้เคียงกับฟันแท้เพื่อความเป็นธรรมชาติและสวยงาม ซึ่งปัจจุบันมีการเลือกใช้วัสดุที่หลากหลายอาทิเช่น

ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown หรือ FMC) มีความแข็งแรงที่สุดในบรรดาครอบฟันชนิดอื่นๆ  เหมาะสำหรับครอบฟันกรามที่ต้องใช้บด เคี้ยวอาหาร แต่สีของวัสดุจะไม่เหมือนสีฟันธรรมชาติจึงไม่นิยมนำมาครอบฟันหน้า วัสดุที่เลือกใช้ อาทิเช่น ทองคำ ทองคำขาว นิเกิล-โครเมียม เป็นต้น

ครอบฟันเซรามิกล้วน (All-ceramic crown หรือ ACC) เป็นครอบฟันที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีความสวยงามและสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุดเช่นกัน

ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก (Porcelain-fused-to-metal crown หรือ PFM) ครอบฟันชนิดนี้จะใช้โลหะเป็นโครงก่อนจากนั้นจึงเคลือบด้วยเซรามิกอีกชั้น ถึงแม้จะมีความแข็งแรงแต่ก็มีโอกาสที่เซรามิกที่ครอบจะเกิดความเสียหายจนครอบฟันหลุดได้เช่นกัน

ขั้นตอนการครอบฟันจะใช้ระยะเวลาในการพบทันตแพทย์ประมาณ  2-3 ครั้ง เริ่มจากการเตรียมแบบจำลองฟัน กรอเนื้อฟัน ตามด้วยทำพิมพ์ปากหลัง และทำครอบฟันชั่วคราว และทำครอบฟันจริงเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ปัญหาที่พบหลังจากการครอบฟัน

• คนไข้บางรายอาจจะมีอาการเสียวฟัน ในช่วงแรกๆ ซึ่งทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันร่วมด้วย

• อาการแพ้ กรณีนี้พบได้ค่อนข้างน้อยมาก การแพ้เกิดจากครอบฟันที่ใช้การผสมวัสดุซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการแพ้โลหะหรือเซรามิกที่ใช้ เมื่อรู้สึกผิดปรกติหลังการครอบฟัน จึงควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที   

• อาจจะมีรอยดำบริเวณแนวเหงือก  กรณีมักเกิดขึ่นในกรณีคนใข้เลือกใช้ครอบฟันแบบที่มีโลหะผสม เพราะโลหะจะมีสีที่เข้มกว่า จึงเป็นเรื่องปรกติที่อาจเกิดขึ้นได้   

• ครอบฟันหลุด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น  ขนาดของครอบฟันไม่พอดีกับฟันแท้ , ฟันผุซ้ำ รากฟันติดเชื้อ รวมถึงกาวเสื่อมสภาพเป็นต้น

ครอบฟันหลุดควรปฏิบัติอย่างไร

ครอบฟันมีอายุการใช้งาน 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาช่องปาก และฟัน ทั้งนี้หากครอบฟันหลุด ควรรีบไฟพบทันตแพทย์ทันทีพร้อมนำครอบฟันชั่วคราวที่หลุดไปด้วย โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เอ็กซเรย์ และประเมิณว่าสามารถครอบฟันใหม่ได้ทันทีหรือไม่ หากพบว่ามีความเสียหายเล็กน้อย อาจสามารถซ่อมแซมได้ทันทีโดยใช้คอมโพสิตเรซิ่น แต่หากเสียหายมากก็อาจจะต้องทำครอบฟันใหม่ อย่างไรก็ตามสำหรับบางกรณีก็ไม่สามารถครอบฟันกลับทันทีได้ก็จะพิจารณาการรักษาเป็นเคสๆ ไป อาทิเช่นคนไข้ที่ครอบฟันหลุด เนื่องจากฟันผุซ้ำและติดเชื้อ อาจมีการล้างคลองรากฟันใหม่ และอุดชั่วคราวไว้ ในกรณีต้องการรักษารากฟันใหม่ หรือหากรากฟันเกิดความเสียหายมากไม่สามารถเก็บไว้ได้ก็อาจจะต้องถอนฟันออกและใส่ฟันปลอมแทนเป็นต้น

ข้อควรระวังไม่ให้ครอบฟันหลุด

สำหรับการดูแลครอบฟัน ก็เหมือนกับการดูแลฟันทั่วไป ต้องหมั่นดูแลความสะอาดของฟันและช่องปาก หลีกเลี่ยงการใช้ฟัน กัด แทะ อาหารที่มีความแข็ง หรือใช้ฟันแงะ แกะ สิ่งของอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร รวมถึงแปรงฟันอย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน ไม่แปรงแรงแรงจนเกินไป ทั้งนี้หากเกิดความผิดปรกติกับครอบฟัน อย่าปล่อยไว้จนเกิดความเสียหายครอบฟันหลุด ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที

การดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ รักษารากฟัน หรือครอบฟัน ควรทำความสะอาดฟันให้ถูกต้องและตรวจสุขภาพฟันทุก 6-12 เดือน และไปตรวจตามเวลาที่ทันตแพทย์นัดหมาย เท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี ยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ทำนัดหมาย Make an appointment