รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บเพดานปาก

เจ็บเพดานปาก

หากคุณมีอาการ เจ็บเพดานปาก ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่รับประทานอาหาร อ้าปากกว้าง ๆ กลืนน้ำลาย หรือขณะพูด แล้วกังวลว่าอาการที่เกิดขึ้นจะอันตราย ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ (Thantakit) จะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุของเพดานปากบวม หรืออาการเจ็บที่เพดานปาก พร้อมแนะนำวิธีรักษาและป้องกันอย่างเหมาะสม รับรองว่าจะช่วยให้คุณรับมือกับอาการเจ็บที่เพดานปากได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

อาการเจ็บเพดานปาก

รู้จักกับอาการ เจ็บเพดานปาก

อาการเจ็บเพดานปาก เป็นหนึ่งในอาการแสดงของโรคในช่องปากต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่อันตราย และสามารถหายได้เองภายใน 2 – 3 สัปดาห์

สาเหตุของอาการ เจ็บเพดานปาก หรือเพดานปากบวม

อาการเพดานปากบวม หรือเจ็บที่เพดานปาก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การรับประทานของร้อนจัด หรือเย็นจัดเกินไปจนทำให้เยื่อบุในช่องปากอักเสบ
  • ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยเกินไป จนทำให้ปากแห้ง เหงือกอักเสบ และเจ็บที่เพดานปาก
  • เป็นแผลร้อนในในช่องปาก
  • การใช้สารทำความสะอาดช่องปากที่รุนแรงเกินไป
  • เกิดการระคายเคืองจากการสูบบุหรี่
  • เกิดการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย
  • เป็นเนื้องอก หรือมะเร็งในช่องปาก

ลักษณะอาการเจ็บเพดานปากที่เป็นอันตราย

อาการเจ็บเพดานปาก หรือเพดานปากบวมนั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีอันตราย และสามารถหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการเจ็บ ร่วมกับมีตุ่ม หรือก้อนเนื้อที่เพดานปากก็อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการเจ็บที่เป็นอันตรายได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ตุ่มร้อนใน จะมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ๆ ร่วมกับมีอาการบวมแดง ในบางรายอาจมีหนอง และเจ็บร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
  • ตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน จะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส ๆ อาจมีหลายตุ่มก็ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณในช่องปากอย่างกระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลำคอ รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า แขน หรือขา เป็นต้น
  • ตุ่มในปากจากก้อนน้ำลายเกิดรอยฉีกขาด ทำให้ต่อมน้ำลายรั่ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องให้ทันตแพทย์ตัดออก
  • ก้อนเนื้อ อาจเป็นเนื้อดี หรือเนื้อร้ายก็ได้ สามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้เรื่อย ๆ ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บ โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับประวัติการสูบบุหรี่จัด และการติดเชื้อไวรัสเอสพีวี (HPV)

สำหรับใครที่มีอาการเจ็บที่เพดานปาก ร่วมกับมีตุ่ม หรือก้อนเนื้อนั้น ควรรีบไปให้ทันตแพทย์ หรือแพทย์ตรวจวินิจฉัยลักษณะก้อนทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นก้อนเนื้อร้ายได้

เพดานปากบวม

ระยะเวลาการหายของอาการเจ็บเพดานปาก

อาการเจ็บเพดานปากที่เกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย เช่น แผลร้อนใน น้ำร้อนลวกปาก หรือการระคายเคือง มักจะหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายได้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทันที

แนวทางการรักษาอาการเจ็บเพดานปาก

แนวทางการรักษาอาการเจ็บเพดานปากก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่นกัน หากเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย เพียงแค่หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ร่วมกับการทำความสะอาดฟันและช่องปากอย่างถูกวิธี และกลั้วปากด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ ก็จะสามารถหายได้เอง

อย่างไรก็ตาม หากเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อไวรัส การเป็นโรค หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน การตรวจพบก้อนเนื้อ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นหลัก ซึ่งจะมีทั้งการรักษาด้วยการรับประทานยา และการผ่าตัด

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเพดานปากบวมและเจ็บ

คุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บที่เพดานปาก หรือเพดานปากบวมได้ โดยการหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ร้อนจัด หรือเย็นจัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารทำความสะอาดฟันและช่องปากที่รุนแรงเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทำความสะอาดช่องปากด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 – 10 แก้วต่อวัน เพื่อให้ปากชุ่มชื้น ไม่แห้ง

อาการเจ็บเพดานปาก วิธีแก้

จะเห็นได้ว่าอาการ เจ็บเพดานปาก หรือเพดานปากบวม เกิดขึ้นได้ทั้งจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายอย่าง ของร้อนลวกปาก การระคายเคืองจากสารเคมีต่าง ๆ แผลร้อนใน ปากแห้ง และสาเหตุที่เป็นอันตรายอย่างมะเร็งในช่องปาก ด้วยเหตุนี้เราจึงควรสังเกตอาการเจ็บที่เพดานปากอย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบว่ามีอาการเจ็บที่ผิดปกติ หรือเจ็บเรื้อรังนานเกิน 1 สัปดาห์ ก็ควรที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงจนส่งผลให้การรักษาทำได้ยากขึ้นได้

 

ทำนัดหมาย Make an appointment